วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

ความรู้เกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ต
การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
โดเมนเนม (Domain name system :DNS)
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข
โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
.com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
.edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
.int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
.org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
.net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจ
  การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
เราสามารถนำระบบเครือข่าย Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษาได้หลากหลาย
และเกือบจะนับว่า Internet มีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการศึกษาปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถาบันการศึกษาเกือบทุกสถาบัน ทั้งในระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา หรือแม้แต่ประถมศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยี Internet มาใช้ประกอบการเรียนการสอน และนำมาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้สำหรับครู-อาจารย์ มากขึ้นโดยลำดับ บางสถาบัน ได้กำหนดให้มีการลงทะเบียนเรียน แจ้งผลการเรียน หรือแม้กระทั่งเรียนผ่านทาง Internet แล้ว ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนใหญ่สามารถที่จะเชื่อมต่อใช้งาน Internet
ได้แล้วจากโครงการ SchoolNet และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ


ดังนั้น การนิเทศการศึกษาจึงไม่ควรจำกัดเฉพาะการนิเทศโดยตรงเท่านั้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การนิเทศการศึกษาขยายขอบข่ายได้กว้างขวางขึ้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น


1. การสร้าง Web page เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการนิเทศ และข้อมูลเทคนิคเกี่ยวกับการเรียนการสอนต่าง ๆ
2. การใช้ E-mail สำหรับตอบปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู-อาจารย์และนักเรียน 3. การใช้โปรแกรมที่สามารถติดต่อแบบ Real time เช่น ICQ ตอบปัญหาข้อข้องใจของครู-อาจารย์ และ นักเรียน หรือใช้สำหรับประชุมทางไกล
4. การสร้างชุดการสอน หรือ CAI บน Internet ในรูปแบบของ Web page

การสร้าง Web page วิธีการนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
หรือเพื่อประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง ผู้ที่จะสร้าง Web pageได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางการเขียน
โปรแกรม ภาษา HTML (Hypertext Markup Languaqe) บ้างพอสมควร ปัจจุบัน Web page ของไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีอยู่มากมาย เช่น

Web site ของ โรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SchoolNet
Web site ของกระทรวงศึกษาธิการ , กรมสามัญศึกษา , หน่วยศึกษานิเทศก์
Web site ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หมายเหตุ

Web page หมายถึง หน้าเอกสารแต่ละหน้าที่แสดงผ่านทาง Browser
Home page หมายถึง Web page หน้าแรกของเอกสารที่แสดงผ่านทาง Browser
Web site หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่แสดงผ่านทาง Browser ซึ่งประกอบด้วย Home page
และ Web page ทั้งหมด Web site เหล่านี้ ผู้สร้างสามารถกำหนดให้ผู้ใช้หรือผู้เยี่ยมชม
สามารถสำเนาข้อมูล แฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไปใช้งานได้ หรือกำหนดให้ส่ง
E-mail ถึงเจ้าของหรือผู้ดูแลระบบได้ทันที

ดังนั้น วิธีการนิเทศในรูปแบบของการใช้ Web page สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในกรณีที่ต้องการเผยแพร
่เอกสารทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
หรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ E-mail กับการนิเทศ
ศึกษานิเทศก์ สามารถให้การนิเทศได้ทั้งทางตรง และ
ทางอ้อม การนิเทศทางอ้อมที่ประหยัด รวดเร็ว ไม่จำกัด
ช่วงเวลา ได้แก่การใช้ E-mail ในการติดต่อสื่อสาร ซี่ง
ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะประยุกต์นำไปใช้ เพราะ E-mail ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเขียนจดหมายโต้ตอบกันเท่านั้น
แต่ยังสามารถที่จะส่งแฟ้มเอกสาร แฟ้มรูปภาพ และแฟ้ม
ข้อมูล ต่าง ๆ ได้อีกด้วย การใช้โปรแกรมที่ติดต่อกันแบบ
Real time เช่น โปรแกรม ICQ เราสามารถใช้โปรแกรม ICQ
ให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศก์ ได้ในลักษณะเดียวกับ E-mail
ครู-อาจารย์ หรือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันที และสามารถสื่อสารพร้อมกัน
ได้หลาย ๆ คน



 . เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
2 จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถทำได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทำงานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)
องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย
1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน
Username@domain_name
การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ
1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการนำไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทำการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
4 บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
5 บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคำที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคำที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทำการส่งคำที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
6 บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board) เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
7. ห้องสนทนา (Chat Room) ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจำเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com www.pantip.com


อินเทอร์เน็ต (Internet) มาจากคำว่า Inter Connection Network หมายถึง เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน
ลักษณะของระบบอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง
อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาจากโครงการวิจัยทางการทหารของกระทรวงกลาโหมของประเทศ สหรัฐอเมริกา คือAdvanced Research Projects Agency (ARPA) ในปี 1969 โครงการนี้เป็นการวิจัยเครือข่ายเพื่อการสื่อสารของการทหารในกองทัพอเมริกา หรืออาจเรียกสั้นๆ ได้ว่า ARPA Net ในปี ค.ศ. 1970 ARPA Net ได้มีการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเครือข่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของอเมริกา คือ มหาวิทยาลัยยูทาห์ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส และสถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และหลังจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการใช้ อินเทอร์เน็ตกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น
สำหรับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตเริ่มมีการใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 ที่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการ IDP (The International Development Plan) เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถติต่อสื่อสารทางอีเมลกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลียได้ ได้มีการติดตั้งระบบอีเมลขึ้นครั้งแรก โดยผ่านระบบโทรศัพท์ ความเร็วของโมเด็มที่ใช้ในขณะนั้นมีความเร็ว 2,400 บิต/วินาที จนกระทั่งวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ได้มีการส่งอีเมลฉบับแรกที่ติดต่อระหว่างประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงเปรียบเสมือนประตูทางผ่าน (Gateway) ของไทยที่เชื่อมต่อไปยังออสเตรเลียในขณะนั้น
ในปี พ.ศ. 2533 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของสถาบันการศึกษาของรัฐ โดยมีชื่อว่า เครือข่ายไทยสาร (Thai Social/Scientific Academic and Research Network : ThaiSARN) ประกอบด้วย มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตภายในประเทศ เพื่อการศึกษาและวิจัย
ในปี พ.ศ. 2538 ได้มีการบริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ขึ้น เพื่อให้บริการแก่ประชาชน และภาคเอกชนต่างๆ ที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยมีบริษัทอินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider: ISP) เป็นบริษัทแรก เมื่อมีคนนิยมใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจึงได้ก่อตั้งเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) การสื่อสารแห่งประเทศไทย หรือ กสท. (Communication Authority of Thailand: CAT) เทเลคอมเอเชีย (TelecomAsia) และ ดาต้าเน็ต (DataNet) โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ การสื่อสารแห่งประเทศไทย
ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
การให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องผ่านการสื่อสารแห่งประเทศไทยเท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูล เข้า-ออก ของประเทศไทยโดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น